![]() ![]() |
![]() |
th ![]() ![]() |
โปรโมชั่น
![]()
แมกเนติก คอนแทคเตอร์ & โอเวอร์โหลด
คอนเดนเซอร์ คาปาซิเตอร์ รีเลย์
ไทม์เมอร์ & ออด กระดิ่ง
อุปกรณ์ตรวจวัด & มิเตอร์
ซี.ที. คล้องสายไฟ & ฟิวส์ ฐานฟิวส์
ปลั๊ก & ฝาครอบพลาสติก
สวิทช์ ไมโครสวิทช์ & พ็อกซิมิตี้
หางปลา ปลอกหุ้มหางปลา & สลิป
โคมไฟ & หลอดไฟ & ขั้วหลอดไฟ
ตู้ไฟ บ็อกซ์ & รางไวร์เวย์
ท่อ ข้อต่อ & อุปกรณ์ท่อ
อุปกรณ์แรงสูง
|
การป้องกันไฟฟ้าลัดวงจร![]() ![]() ![]() การป้องกันไฟฟ้าลัดวงจร เครื่องใช้ไฟฟ้าเก่า เสื่อมสภาพแล้วไม่ควรนำมาใช้ 1.ใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าที่ได้มาตรฐาน ไม่นำเครื่องใช้ไฟฟ้าที่เก่า ชำรุด บุบ มีรอยถลอก โดนหนูกัดสายไฟ ได้มาตรฐานอุตสาหกรรมหรือไม่ โดยดูจากยี่ห้อที่ประทับบนสายไฟต้องชัดเจน มีเครื่องหมายมาตรฐานมอก. อย่าเสี่ยงกับของถูกไม่ได้มาตรฐานเลยค่ะ 2.ติดตั้งระบบป้องกันไฟฟ้าลัดวงจร หลายคนคงเคยได้ยิน Safety Cut เบรกเกอร์ต่างๆ ที่ช่วยตัดไฟเมื่อเราใช้ไฟเกิน แนะนำให้ติดตั้งได้เลยค่ะ ช่วยได้ปลอดภัยชัวร์ 3.ถอดปลั๊กทุกครั้งหลังใช้งาน ปิดสวิตช์ไฟและถอดปลั๊กทุกครั้งหลังใช้งาน ไม่เปิดเครื่องใช้ไฟฟ้าและเสียบปลั๊กไฟติดต่อกันนานๆ ไม่เสียบปลั๊กไฟจำนวนมากกับเต้าเสียบเดียวกัน 4.เลือกสายไฟให้เหมาะกับการใช้ไฟ สายไฟแต่ละขนาดจะกำหนดไว้อย่างชัดเจนที่ตัวสายไฟว่า รับกระแสไฟฟ้าได้เท่าไหร่ หากเรานำเครื่องใช้ไฟฟ้ามาเสียบใช้งาน หากเครื่องใช้ไฟฟ้ากินไฟมากกว่าที่สายไฟจะรับได้ จะทำให้สายไฟเสื่อมคุณภาพเร็วกว่าปกติ มีโอกาสที่จะเกิดไฟฟ้าลัดวงจรได้สูง วิธีแก้ไขเมื่อเกิดไฟฟ้าลัดวงจร ก่อนจะใช้ไฟทุกครั้ง ต้องสังเกตว่าไม่มีสิ่งผิดปกติ รีบตัดกระแสไฟฟ้า เมื่อพบว่าเริ่มมีประกายไฟ ให้ตั้งสติเป็นอันดับแรก จากนั้นให้หาวิธีปิดสวิตช์ไฟหรือถอดปลั๊กไฟ พร้อมใช้ถังดับเพลิงชนิดสารเหลวระเหย ฉีดพ่นบริเวณที่เกิดเพลิงไหม้ ซึ่งข้อดีของวิธีนี้คือ สารจะระเหยไปในอากาศ ไม่เหลือคราบสกปรก ทำให้เครื่องใช้ไฟฟ้าจะไม่ได้รับความเสียหาย ข้อควรระวัง!! การใช้เครื่องใช้ไฟฟ้า ไม่ควรเสียบปลั๊กในจุดเดียวกันหลายๆ ตัว 1.ห้ามใช้น้ำและถังดับเพลิงชนิดฟองโฟม ดับไฟเด็ดขาดเพราะน้ำและโฟมเป็นสื่อนำไฟฟ้าชั้นดี ทำให้เสี่ยงต่อการถูกไฟดูดได้ 2.เลี่ยงการใช้ถังดับเพลิงชนิดผงเคมีแห้ง ถึงแม้วิธีนี้จะช่วยดับไฟได้ดีก็จริง แต่เมื่อฉีดพ่นแล้วทำให้ฝุ่นฟุ้งกระจาย ส่งผลให้เครื่องใช้ไฟฟ้าอาจได้รับความเสียหายได้ |