0
E-mail : tmk.electric123@gmail.com
เข้าสู่ระบบสมัครสมาชิก 083 233 4446  th en
สายไฟ
แมกเนติก คอนแทคเตอร์ & โอเวอร์โหลด
คอนเดนเซอร์ คาปาซิเตอร์ รีเลย์
อุปกรณ์ตรวจวัด & มิเตอร์
ซี.ที. คล้องสายไฟ & ฟิวส์ ฐานฟิวส์
ปลั๊ก & ฝาครอบพลาสติก
สวิทช์ ไมโครสวิทช์ & พ็อกซิมิตี้
หางปลา ปลอกหุ้มหางปลา & สลิป
โคมไฟ & หลอดไฟ & ขั้วหลอดไฟ
ท่อ ข้อต่อ & อุปกรณ์ท่อ
อุปกรณ์แรงสูง

ก่อนใช้.. โปรดระวัง!! เบรกเกอร์ และ เบรกเกอร์กันไฟรั่ว ไม่เหมือนกันนะ

2020-09-26 10:24:45 ใน บทความ » 0 2317
คำว่า “เบรกเกอร์” ที่เป็นคำเรียกสั้นๆของคำว่า “Circuit Breaker” มันคืออุปกรณ์ตัดไฟ เรามักเห็นเบรกเกอร์ได้ตามตู้ไฟ หรือไม่ก็ตามอุปกรณ์ไฟฟ้าที่มีความเสี่ยงเรื่องไฟรั่ว เป็นอุปกรณ์ที่ไว้ป้องกันภัยที่เกิดจากไฟฟ้า
นอกจากตัวเลขกำลังไฟที่ต้องคำนวณ “เบรกเกอร์” มีความซับซ้อนกว่านั้นหน่อย และหากเลือกใช้เบรกเกอร์ผิด ชีวิตก็จะตกอยู่ในอันตรายอย่างสบายใจ (คือคิดไปเอง ว่าปลอดภัยแล้วทั้งๆ ที่อยู่ในความเสี่ยง)
อันหนึ่งกันไฟเกิน อีกอันกันไฟรั่ว
“เบรกเกอร์” ที่ใช้ตามบ้านแบ่งตามวัตถุประสงค์มีสองประเภทใหญ่ๆ คือ “Circuit Breaker” และ “Earth Leak Circuit Breaker”(เขียนย่อว่า ELCB)
“Circuit Breaker” คืออุปกรณ์คอยป้องกันไม่ให้มีกระแสไฟไหลเข้าสู่สายไฟมากเกินจนเกิดอาการสายไฟไหม้ เพราะสายไฟแต่ละขนาดมีความสามารถในการรับไฟฟ้าไม่เท่ากัน ถ้าใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าในสายนั้นมากไป สายจะร้อนและไหม้ได้ วิธีการป้องกันของ Circuit Breaker ก็คือ เมื่อมีไฟฟ้าไหลผ่านเกินขนาดเบรกเกอร์จะตัดกระแสไฟนั้นเสีย เราจะพบ “Circuit Breaker” ตามตู้ไฟปกติ
ส่วน “Earth Leak Circuit Breaker” คือ อุปกรณ์ป้องกันไม่ให้มีไฟรั่ว โดยอุปกรณ์นี้จะคอยดูว่าไฟที่ไหลเข้ามากับไฟที่วนกลับไปในวงจรมีค่าเท่ากันหรือไม่ ถ้าหากไม่เท่ากัน แสดงว่ามีไฟรั่วออกไป อุปกรณ์นี้ก็จะตัดกระแสไฟนั้น ตัว ELCB เอาไว้ติดตั้งกับอุปกรณ์ที่มีความเสี่ยงด้านไฟรั่ว เช่น เครื่องทำน้ำอุ่น เครื่องทำน้ำร้อน เครื่องปรับอากาศ ตู้เย็น ตู้น้ำเย็น ปั๊มน้ำ
หน้าตาคล้าย แต่ห้ามใช้สลับกัน
แม้หน้าตาของอุปกรณ์ทั้งสองประเภทจะดูคล้ายๆ กัน แต่โดยทั่วไป ELCB จะมีราคาแพงกว่า “Circuit Breaker” เสมอ และจะมีสวิตซ์ตรวจสอบอยู่ด้วย เมื่อกดสวิตซ์จะเป็นการตรวจสอบว่าตัว ELCB ยังทำงานดีอยู่หรือไม่
ทั้งสองตัวมีวัตถุประสงค์ในการใช้งานต่างกัน และห้ามใช้สลับกัน
ถ้าใช้ ELCB แทน “Circuit Breaker” ไฟจะไม่ได้ตัดเมื่อมีการใช้กำลังไฟเกินตัว แต่จะตัดเมื่อไฟรั่วเท่านั้น หากกระแสไฟเกินตัว ELCB จะพังไปเลย (เพราะไม่ได้ผลิตมาเพื่อตรวจจับไฟเกิน)
ที่น่ากลัวกว่านั้นคือหากใช้ “Circuit Breaker” แทน ELCB เพราะ ถ้าหากเกิด ไฟดูด ไฟรั่ว กระแสไฟจะไม่ถูกตัด จะถูกตัดก็ต่อเมื่อมีไฟกระชากรุนแรงเท่านั้น (เพราะไม่ได้ถูกผลิตมาเพื่อตรวจจับไฟรั่ว) ซึ่งถ้าถึงจุดนั้น ก็ไม่สามารถรักษาชีวิตคนที่ถูกไฟดูดได้แล้ว
บทความนี้ขอพูดถึง รูปแบบ จุดประสงค์ และการใช้งานของอุปกรณ์ทั้งสองตัวแบบสั้นๆ ง่ายๆ เท่านี้ก่อน เพื่ออย่างน้อยจะให้ทุกท่านสังเกตได้ว่าเราใช้เบรกเกอร์ถูกชนิดกันรึยัง
ที่จริงยังมีรายละเอียดเรื่องขนาดที่ใช้และความรอบคอบในการติดตั้ง ซึ่งแนะนำสั้นๆ ว่าต้องใช้ช่างที่มีความรู้ทางวิศวกรรมไฟฟ้าเป็นดีที่สุด
สนใจ​สินค้าหรือผลิตภัณฑ์​หรือสินค้าอุปกรณ์ไฟฟ้าอื่นๆสามารถติดต่อสอบถามได้ทางIn Box หรือโทร.​082-233-4446 ยินดีให้บริการค่ะ

 
© 2024 TMKELETRICS.COM ALL RIGHTS RESERVED.