0
E-mail : tmk.electric123@gmail.com
เข้าสู่ระบบสมัครสมาชิก 083 233 4446  th en
สายไฟ
แมกเนติก คอนแทคเตอร์ & โอเวอร์โหลด
คอนเดนเซอร์ คาปาซิเตอร์ รีเลย์
อุปกรณ์ตรวจวัด & มิเตอร์
ซี.ที. คล้องสายไฟ & ฟิวส์ ฐานฟิวส์
ปลั๊ก & ฝาครอบพลาสติก
สวิทช์ ไมโครสวิทช์ & พ็อกซิมิตี้
หางปลา ปลอกหุ้มหางปลา & สลิป
โคมไฟ & หลอดไฟ & ขั้วหลอดไฟ
ท่อ ข้อต่อ & อุปกรณ์ท่อ
อุปกรณ์แรงสูง

ระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้มีความสำคัญอย่างไร

2020-09-25 14:18:05 ใน บทความ » 0 366
หลายคนมักเข้าใจว่า ระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้ (Fire Alarm System) คือระบบเดียวกัน หรือระบบที่ทำงานเหมือนกันกับระบบดับเพลิง ทั้งที่ความจริงระบบแจ้งเพลิงไหม้มักจะทำงานแยกจากระบบดับเพลิงอย่างเห็นได้ชัดตามหน้าที่ของแต่ละระบบ กล่าวคือ ระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้ทำหน้าที่แจ้งเตือนให้ทราบว่ามีเหตุเพลิงไหม้เกิดขึ้น ส่วนระบบดับเพลิงทำหน้าที่ในการดับเพลิงนั่นเอง
ระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้ ประกอบด้วยส่วนสำคัญ 3 ส่วนคือ
1. อุปกรณ์แจ้งเหตุ ซึ่งมีทั้งอุปกรณ์แจ้งเหตุอัตโนมัติ ซึ่งมีทั้งการตรวจจับควัน หรือการตรวจจับความร้อน และอุปกรณ์แจ้งเหตุด้วยมือ ซึ่งต้องใช้คนแจ้งเหตุ โดยการกดสวิทต์นั่นเอง
2. ตู้ควบคุม จะคอยรับสัญญาณจากอุปกรณ์แจ้งเหตุ พร้อมระบุตำแหน่งหรือจุดที่สัญญาณแจ้งเหตุทำงาน ก่อนส่งสัญญาณให้อุปกรณ์แจ้งสัญญาณทำงาน
3. อุปกรณ์แจ้งสัญญาณ ทำหน้าที่ส่งสัญญาณให้คนได้ทราบเพื่อดำเนินการดับไฟ หรืออพยพต่อไป ซึ่งมีทั้งอุปกรณ์ที่สร้างเสียงสัญญาณ เช่น กระดิ่ง กริ่ง ลำโพง ไซเรน เป็นต้น และอุปกรณ์ที่สร้างสัญญาณด้วยแสง อย่างสโตรบ หรือไฟกระพริบ เป็นต้น
ระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้มักถูกติดตั้งในอาคารหรือสถานประกอบการณ์ที่มีผู้คนอยู่อาศัย หรือร่วมทำกิจกรรมต่างๆ เป็นจำนวนมาก อาทิ ห้างสรรพสินค้า โรงพยาบาล โรงงาน โรงเรียน ฯลฯ ทั้งนี้ก็เพื่อเป็นการแจ้งเตือนให้ผู้ที่อยู่ในอาคารได้ทราบและดำเนินการอพยพออกจากอาคาร โดยกฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหาร จัดการ และดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวนอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับการป้องกันและระงับอัคคีภัย พ.ศ. ๒๕๕๕ หมวด ๒ ความปลอดภัยเกี่ยวกับอาคารและทางหนีไฟ ข้อ ๙ เขียนไว้ว่า “สถานประกอบกิจการที่มีอาคารตั้งแต่สองชั้นขึ้นไป หรือมีพื้นที่ประกอบกิจการตั้งแต่สามร้อยตารางเมตรขึ้นไป ให้นายจ้างจัดให้มีระบบสัญญาณแจ้งเหตุเพลิงไหม้ในสถานประกอบการกิจการทุกชั้น”
 

 
 
 
 
© 2024 TMKELETRICS.COM ALL RIGHTS RESERVED.