0
E-mail : tmk.electric123@gmail.com
เข้าสู่ระบบสมัครสมาชิก 083 233 4446  th en
สายไฟ
แมกเนติก คอนแทคเตอร์ & โอเวอร์โหลด
คอนเดนเซอร์ คาปาซิเตอร์ รีเลย์
อุปกรณ์ตรวจวัด & มิเตอร์
ซี.ที. คล้องสายไฟ & ฟิวส์ ฐานฟิวส์
ปลั๊ก & ฝาครอบพลาสติก
สวิทช์ ไมโครสวิทช์ & พ็อกซิมิตี้
หางปลา ปลอกหุ้มหางปลา & สลิป
โคมไฟ & หลอดไฟ & ขั้วหลอดไฟ
ท่อ ข้อต่อ & อุปกรณ์ท่อ
อุปกรณ์แรงสูง

หลักในการเลือกซื้อเต้าเสียบและเต้ารับ

2020-09-29 18:15:34 ใน บทความ » 0 1366
 
เต้าเสียบและเต้ารับที่ดีต้องปลอดภัย ควรมีลักษณะดังนี้ คือ
มีการป้องกันนิ้วมือไม่ให้สัมผัสขาปลั๊กในขณะเสียบหรือถอดปลั๊ก เช่น การทำให้เต้ารับเป็นหลุมลึกหรือการหุ้มฉนวนทีโคนขาปลั๊กหรือทำเต้าเสียบ (ปลั๊ก) ให้มีขนาดใหญ่เมื่อมีการกุมมือจับเต้าเสียบแล้วไม่มีโอกาศจับขาปลั๊กส่วนที่มีไฟ
มีการป้องกันเด็กใช้นิ้วหรือวัสดุแหย่รูเต้ารับ เช่น มีฝาครอบหรือบานพับเปิด-ปิดรูของเต้ารับ ซึ่งบานพับจะเปิดตอนใช้ปลั๊กเสียบเท่านั้น
มีมาตรฐานสากลรับรอง ละผ่านการทดสอบตามมาตรฐานนั้นๆ เช่น UL, VDE, DIN, KEMA เป็นต้น
ขนาดของกระแสและแรงดันไฟฟ้าสอดคล้องกับการใช้งานจริง เช่นทดลองเสียบปลั๊กแล้วดึงออก 5-10 ครั้งถ้ายังคงฝืดและแน่นแสดงว่าใช้งานได้
อันตรายของการใช้ปลั๊กแบบคู่ขนาน (2-3 ขา)
ปลั๊กขาแบนนั้นมาตรฐานทั่วโลกกำหนดให้ใช้ไฟไม่เกิน 125 โวลต์จึงไม่เหมาะกับประเทศไทยที่ใช้ระบบไฟ 220 โวลต์ และใช้แรงดันทดสอบที่สูงกว่า
ปลั๊กขาแบนที่จับที่เล็ก มักเกิดอุบัติเหตุนิ้วมือสัมผัสขาปลั๊ก ซึ่งเป็นอุบัติเหตุส่วนใหญ่ที่เกิดขึ้นในประเทศไทย
เต้าเสียบและเต้ารับไม่มีการป้องกันนิ้วมือสัมผัส ขาปลั๊กในขณะที่เสียบหรือถอดปลั๊ก ซึ่งอันตรายในขณะที่สัมผัสไฟ 220 โวลต์จะรุนแรงกว่าสัมผัสแรงดัน 110 โวลต์เกือบเท่าตัว
เต้ารับสำหรับปลั๊กขาแบนเมื่อใช้เต้ารับมาใช้กับเต้าเสียบ 220 โวลต์ที่เป็นขากลมจำเป็นต้องดัดแปลงให้เต้ารับเสียบขากลมได้ด้วย ทำให้รูของเต้ารับกว้างขึ้น เนื่องจากระยะห่างของขาทั้ง 2 ชนิดไม่เท่ากัน มักจะมีปัญหาไม่ปลอดภัยเสียบไม่แน่นและอาจเกิดอัคคีภัยได้ง่าย
ข้อแนะนำหากจะต่อปลั๊กที่เครื่องใช้ไฟฟ้าประเภท 1 ให้มีสายดินด้วยตัวเอง
ก่อนอื่นจะต้องตรวจสอบก่อนว่า ตัวถังโลหะต้องไม่ต่อกับสายศูนย์ของเครื่องใช้ไฟฟ้า มิฉะนั้นจะทำไม่ได้ยกเว้นจะปลดให้แยกจากกันและมีระดับฉนวนที่ทดสอบแล้วว่าเพียงพอ
สำหรับเครื่องไฟฟ้าที่มีสายดินมาจากผู้ผลิต ไม่ปลอดภัยที่จะทำเองควรปรึกษาผู้ผลิต หรือช่างที่ชำนาญที่มีเครื่องมือทดสอบเป็นการเฉพาะเช่นเครื่องมือทดสอบฉนวนของสายไฟและเส้นศูนย์เมื่อเทียบกับตัวถังโลหะ (เส้นศูนย์ห้ามต่อกับสายดินที่เครื่องใช้ไฟฟ้า)ทดสอบความต่อเนื่องและคงทนของการต่อสายดินที่เครื่องใช้ไฟฟ้าเมื่อมีกระแสไฟฟ้าลัดวงจรไหลในสายดิน เป็นต้น
ข้อแนะนำการติดตั้งและใช้งานเต้าเสียบเต้ารับ
ตำแหน่งของการติดตั้งเต้ารับควรอยู่สูงให้พ้นมือเด็กหรือระดับน้ำที่อาจท่วมถึง
เวลาถอดปลั๊กให้ใช้มือจับที่ตัวปลั๊ก อย่าดึงที่สายไฟ และอย่าใช้มือแตะถูกขาปลั๊ก
ให้หลีกเลี่ยงและระมัดระวังการใช้เต้ารับที่เสียบปลั๊กได้หลายตัวเพราะอาจทำให้มีการใช้ไฟฟ้าเกินขนาดของเต้ารับและสายไฟฟ้าทำให้เกิดไฟไหม้ได้
ก่อนซื้อเต้ารับควรตรวจสอบโดยการใช้ปลั๊ก (ตัวผู้) ขากลมเสียบเข้าและดึงออกหลายๆครั้งเต้ารับที่มีคุณภาพดีจะแน่นและดึงออกยาก
หมั่นตรวจสอบจุดเชื่อมต่อการเข้าสายให้แน่นอยู่เสมอ
เต้ารับที่ใช้งานภายนอกอาคารควรทนแดด ป้องกันน้ำฝนได้ และหากเป็นสายไฟ/เต้ารับที่ลากไปใช้งานไกลๆต้องผ่านวงจรของเครื่องตัดไฟรั่วด้วย
ตลับต่อสายที่ประกอบไปด้วยสายพร้อมปลั๊กและมีเต้ารับหลายตัว พร้อมทั้งมีลักษณะของ มอก. เลขที่ 11-2531 นั้นมิได้หมายความว่าเต้ารับได้มาตรฐาน เนื่องจากมาตรฐาน มอก.11 เป็นมาตรฐานเฉพาะสายไฟเท่านั้น มิใช้มาตรฐานของ
เต้ารับแต่อย่างใด สำหรับขนาดของสายไฟที่ใช้นี้ต้องไม่ต่ำกว่า 10 ตร.มม
ไม่ควรซื้อตลับสายไฟที่ใช้เต้ารับ 3 รู แต่ใช้สายไฟ 2 สายและเต้าเสียบที่ไม่มีสายดินเพราะไม่มีประโยชน์ใดๆ ด้านความปลอดภัยเนื่องจากไม่มีสายดิน
© 2024 TMKELETRICS.COM ALL RIGHTS RESERVED.