0
E-mail : tmk.electric123@gmail.com
เข้าสู่ระบบสมัครสมาชิก 083 233 4446  th en
สายไฟ
แมกเนติก คอนแทคเตอร์ & โอเวอร์โหลด
คอนเดนเซอร์ คาปาซิเตอร์ รีเลย์
อุปกรณ์ตรวจวัด & มิเตอร์
ซี.ที. คล้องสายไฟ & ฟิวส์ ฐานฟิวส์
ปลั๊ก & ฝาครอบพลาสติก
สวิทช์ ไมโครสวิทช์ & พ็อกซิมิตี้
หางปลา ปลอกหุ้มหางปลา & สลิป
โคมไฟ & หลอดไฟ & ขั้วหลอดไฟ
ท่อ ข้อต่อ & อุปกรณ์ท่อ
อุปกรณ์แรงสูง

​12 วิธีป้องกันไฟฟ้าดูดในช่วงฤดูฝน ก่อนเกิดอันตรายกับคนในบ้าน

2020-09-28 19:04:54 ใน บทความ » 0 126

 
วิธีลดความเสี่ยงอันตรายจากไฟฟ้าดูดพร้อมการป้องกัน จากเหตุไฟฟ้าดูดในช่วงฤดูฝน เพื่อความปลอดภัยของทุกคนในครอบครัว
วิธีลดเสี่ยงอันตรายจากไฟฟ้าดูด
1. ตรวจสอบ อุปกรณ์ไฟฟ้า ที่อยู่ภายนอกอาคารให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน เช่น กริ่ง โคมไฟ เป็นต้น ควรเลือกใช้อุปกรณ์ชนิดกันน้ำ รวมถึงติดตั้งสายดิน และเครื่องตัดกระแสไฟฟ้ารั่ว เพื่อป้องกันไฟฟ้าลัดวงจร ทำให้ถูกไฟฟ้าดูด
2. ห้ามใช้หรือสัมผัสเครื่องใช้ไฟฟ้าในขณะที่ร่างกายเปียกชื้น หรือยืนบนที่ชื้นแฉะ เพราะหากมีกระแสไฟฟ้ารั่ว จะได้รับอันตรายจากไฟฟ้าดูด
3. เพิ่มความระมัดระวังในการใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าที่เกี่ยวข้องกับน้ำ และอยู่บริเวณพื้นที่ชื้นแฉะเป็นพิเศษ เช่น ปั๊มน้ำ เครื่องซักผ้า เครื่องทำน้ำอุ่น เป็นต้น เพราะหากมีกระแสไฟฟ้ารั่ว จะทำให้ได้รับอันตราย เพื่อความปลอดภัย ควรสวมรองเท้าทุกครั้งที่ใช้งานเครื่องใช้ไฟฟ้าในบริเวณที่ชื้นแฉะ จะช่วยป้องกันไฟฟ้าดูด
4. ไม่ซ่อมแซมเครื่องใช้ไฟฟ้าด้วยตัวเอง เนื่องจากความไม่ชำนาญ และความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ อาจก่อให้เกิดอันตรายได้
5. กรณีน้ำท่วมบ้าน ให้ตัดกระแสไฟฟ้า ปิดสวิตช์ไฟ ขนย้ายเครื่องใช้ไฟฟ้าขึ้นที่สูง พ้นจากระดับที่น้ำท่วมถึง เพื่อป้องกันไฟฟ้าดูด และเครื่องใช้ไฟฟ้าได้รับความเสียหาย
6. ไม่นำเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ได้รับความเสียหายจากน้ำท่วมมาใช้งาน เพราะเสี่ยงต่อการได้รับอันตราย
 
การป้องกันอุบัติภัยจากไฟฟ้า
1. เลือกใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าที่ได้มาตรฐาน มีเครื่องหมายรับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (มอก.) โดยเฉพาะเครื่องใช้ไฟฟ้าที่อยู่ภายนอกอาคาร ควรเลือกใช้แบบกันน้ำและมีฝาครอบปิด เพื่อป้องกันฝนสาดและน้ำรั่วซึม
2. ติดตั้งอุปกรณ์ป้องกันไฟฟ้าดูด อาทิ เครื่องตัดกระแสไฟฟ้าอัตโนมัติ เบรกเกอร์ควบคุมไฟ โดยเฉพาะเครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีโครงหรือวัสดุหุ้มเป็นโลหะ เช่น ตู้เย็น เครื่องทำน้ำอุ่น ไมโครเวฟ ตู้น้ำดื่ม เป็นต้น ควรติดตั้งสายดิน หากกระแสไฟฟ้ารั่ว ไฟฟ้าจะไหลลงสู่พื้นดิน จึงช่วยป้องกันอันตรายจากไฟฟ้าดูด
3. โค่นต้นไม้และตัดแต่งกิ่งไม้ที่พาดแนวสายไฟฟ้า เพื่อป้องกันพายุลมแรงพัดต้นไม้ล้มทับ หรือเกี่ยวสายไฟขาด ก่อให้เกิดอันตรายต่อผู้ที่อยู่บริเวณดังกล่าว
4. การช่วยเหลือและปฐมพยาบาลผู้ที่ถูกไฟฟ้าดูด รีบตัดกระแสไฟฟ้า โดยปิดสวิตช์ ปลดปลั๊กไฟ และสับคัตเอาท์ หากไม่สามารถตัดกระแสไฟฟ้าได้ ให้นำวัสดุที่เป็นฉนวนไฟฟ้า เช่น ผ้าแห้ง หนังสือพิมพ์ เป็นต้น เขี่ยสายไฟให้หลุดจากตัวผู้ถูกไฟฟ้าดูด หรือใช้เชือกคล้องและดันตัวผู้ถูกไฟฟ้าดูดให้หลุดจากบริเวณที่มีกระแสไฟฟ้ารั่ว โดยผู้เข้าช่วยเหลือต้องยืนบนพื้นแห้ง และสวมรองเท้ายาง
5. ห้ามใช้มือหรืออวัยวะส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกายสัมผัสผู้ถูกไฟฟ้าดูด ในขณะที่ยังไม่ตัดกระแสไฟฟ้า รวมถึงห้ามช่วยเหลือผู้ถูกไฟฟ้าดูดในขณะที่ร่างกายเปียกชื้น หรือยืนบนพื้นที่ชื้นแฉะ เพราะจะได้รับอันตรายจากไฟฟ้าดูด
6. ปฐมพยาบาลผู้ถูกไฟฟ้าดูด ด้วยการปั๊มหัวใจ โดยจัดให้ผู้ถูกไฟฟ้าดูดนอนบนพื้นราบ จากนั้นทำการผายปอดและนวดหัวใจ จนกว่าผู้ถูกไฟฟ้าดูดจะหายใจเองได้ พร้อมรีบนำส่งโรงพยาบาลโดยเร็วที่สุด ทั้งนี้ การเลือกใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าที่ได้มาตรฐาน และการเรียนรู้วิธีใช้งานอุปกรณ์ไฟฟ้าอย่างถูกวิธี จะช่วยป้องกันอุบัติภัยจากไฟฟ้า ทำให้การดำเนินชีวิตในช่วงฤดูฝนเป็นไปด้วยความปลอดภัย
© 2024 TMKELETRICS.COM ALL RIGHTS RESERVED.