0
E-mail : tmk.electric123@gmail.com
เข้าสู่ระบบสมัครสมาชิก 083 233 4446  th en
สายไฟ
แมกเนติก คอนแทคเตอร์ & โอเวอร์โหลด
คอนเดนเซอร์ คาปาซิเตอร์ รีเลย์
อุปกรณ์ตรวจวัด & มิเตอร์
ซี.ที. คล้องสายไฟ & ฟิวส์ ฐานฟิวส์
ปลั๊ก & ฝาครอบพลาสติก
สวิทช์ ไมโครสวิทช์ & พ็อกซิมิตี้
หางปลา ปลอกหุ้มหางปลา & สลิป
โคมไฟ & หลอดไฟ & ขั้วหลอดไฟ
ท่อ ข้อต่อ & อุปกรณ์ท่อ
อุปกรณ์แรงสูง

​ไฟฟ้าทำอันตรายแก่ร่างกายได้อย่างไร

2020-09-26 14:58:33 ใน บทความ » 0 968


 
ร่างกายจะได้รับอันตรายจากไฟฟ้า เนื่องจากส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกายเข้าไปแตะสายไฟหรืออุปกรณ์ไฟฟ้าที่ชำรุดและมีไฟฟ้าอยู่ด้วย จึงกลายเป็นการต่อเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งในวงจรไฟฟ้าหรือทำให้ครบวงจร ในขณะที่ร่างกายส่วนอื่นสัมผัสอยู่กับพื้นดินหรือที่ชื้นแฉะ กระแสไฟฟ้าจึงไหลผ่านร่างกายลงสู่พื้นดินครบวงจรทำให้เกิดอันตรายไฟฟ้าดูดได้
เพื่อความปลอดภัย ต้องใช้อุปกรณ์ติดตั้งที่ได้มาตรฐาน มีการออกแบบที่ถูกต้องและปลอดภัย ติดตั้งโดยผู้ที่มีความรู้ความสามารถ และ มีการกำหนดมาตรฐานความปลอดภัยโดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง (สมอ.) มีคู่มือในการใช้สินค้าอย่างถูกต้องและปลอดภัย
 
ข้อแนะนำในการใช้ไฟฟ้าอย่างปลอดภัย
1. ทุกครั้งที่ใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าขอให้ตรวจสอบสายไฟและเต้าเสียบปลั๊กไฟของเครื่องว่าชำรุดหรือไม่
2. หลีกเลี่ยงการนำเครื่องใช้ไฟฟ้าไปใช้ในบริเวณที่ชื้นแฉะหรือฝนสาดถึง
3. เมื่อจะเสียบปลั๊กเครื่องใช้ไฟฟ้า ต้องดูให้แน่ใจว่าไม่ได้เปิดสวิตช์เครื่องอยู่ เมื่อเลิกใช้ให้ปิดสวิตช์ที่เครื่องใช้ไฟฟ้าก่อนแล้วจึงถอดปลั๊ก
4. อย่าวางอุปกรณ์ไฟฟ้าที่มีความร้อนไว้ใกล้วัสดุติดไฟ เช่น วางโคมไฟไว้ใกล้ผ้าม่าน
5. อย่าแตะต้องอุปกรณ์หรือเครื่องใช้ไฟฟ้าในขณะที่ตัวเปียก
6. หากฉนวนครอบสวิตช์ หรือ อุปกรณ์ไฟฟ้าชำรุดควรซ่อมแซมให้เรียบร้อย
7. เครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีเปลือกหุ้มภายนอกทำด้วยโลหะทุกชนิด เช่น ตู้เย็น หม้อหุงข้าว เตาไมโครเวฟ เตารีด เครื่องซักผ้า เครื่องทำน้ำอุ่น เป็นต้น ต้องติดตั้งสายดิน
8. อย่านำสิ่งของวางบนเครื่องใช้ไฟฟ้าหรือใช้ผ้าคลุมหรือตั้งเครื่องใช้ไฟฟ้าในที่อับอากาศ เพราะจะทำให้ทำงานได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ ชำรุดง่าย และกินไฟมาก และอาจเกิดเพลิงไหม้ได้
9. เครื่องใช้ไฟฟ้าที่กินไฟมาก เช่น หม้อหุงข้าว เครื่องซักผ้า เตาไฟฟ้า ควรเป็นเต้ารับเดี่ยว หลีกเลี่ยงการใช้ร่วมเต้ารับกับเครื่องใช้ไฟฟ้าอื่น
10. อย่าใช้ขั้วต่อแยกเสียบปลั๊กหลายทาง อาจเป็นการใช้ไฟเกินกำลังเกิดไฟไหม้ได้
11. อย่าใช้สายไฟลอดใต้เสือหรือพรหม หรือปล่อยให้ของหนักบีบทับสายไฟ เพราะอาจทำให้ฉนวนแตกชำรุด
12. การเดินสายไฟชั่วคราวไปใช้งานภายนอกอุปกรณ์ต่างๆ ต้องเป็นชนิดกันน้ำและทนแสงแดดได้ วงจรไฟฟ้าหรือเต้ารับนั้นต้องมีการติดตั้งเครื่องตัดไฟรั่ว
13. อุปกรณ์ไฟฟ้าที่ใช้ภายนอกอาคารควรเป็นชนิดกันน้ำได้
14. มันทำความสะอาดและบำรุงรักษาพัดลมให้ใช้งานได้ดี เพราะพัดลมที่มีคุณภาพต่ำหากเปิดทิ้งไว้นานๆมอเตอร์จะรอแล้วเกิดไฟไหม้ได้
15. อย่าใช้ลวดทำราวตากผ้าขึงผ่านหรือพาดสายไฟฟ้า
16. อย่าใช้บันไดโลหะในการซ่อมแซมอุปกรณ์ไฟฟ้าโดยไม่สวมรองเท้ายางหรือรองเท้านิรภัยสำหรับงานไฟฟ้า
17. ติดตั้งเสาอากาศทีวีห่างจากสายไฟไม่น้อยกว่า 3 เมตร หรือในระยะที่ล้มแล้วไม่โดนสายไฟ
18. อย่าใช้น้ำมันไวไฟล้างเครื่องใช้ไฟฟ้าในขณะที่ยังเสียบปลั๊กอยู่
19. ห้ามเปิดหรือปิดอุปกรณ์ไฟฟ้าทุกชนิดเมื่อมีการรั่วไหลของก๊าซหุงต้มภายในบ้าน
20. เมื่อไฟฟ้าดับ ให้ปิดสวิตช์เครื่องใช้ไฟฟ้าทุกชนิดที่เปิดค้างอยู่ทันที รวมถึงถอดปลั๊กเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ให้ความเย็น เช่น ตู้เย็น หรือเครื่องปรับอากาศ และเปิดซ้ำหลังจากนั้นอย่างน้อย 3 นาที
21. อย่าแก้ไขไฟฟ้าเองโดยไม่มีความรู้ความชำนาญเรื่องไฟฟ้าเพียงพอ
22. ฝึกฝนให้รู้จักวิธีแก้ไขและป้องกัน รวมทั้งการช่วยเหลือปฐมพยาบาลเมื่อมีอุบัติเหตุทางไฟฟ้าเกิดขึ้น
 
© 2024 TMKELETRICS.COM ALL RIGHTS RESERVED.